แม่ยงค์
คณิตกุล: สวัสดีคะนี่นะคะคือแม่ยงค์คะ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำขนมต้มคะวันนี้อยากจะให้ แม่เล่าให้ฟังถึงวิธีการทำขนมต้มว่าทำยังไงคะ
แม่ยงค์: ขั้นตอนแรกก็คือ ไส้ขนมต้องใช้มะพร้าวขูดแล้วก็นำไปผัดกับน้ำตาลปี๊บแท้นะคะ พอผัดให้ได้ให้เหนียวแล้วก็นำมาปั้นเป็นลูก ๆ แล้วต่อมาก็คือแป้งที่จะมาปั้นกับไส้ ขนมต้ม ก็จะใช้น้ำใบเตยคั้นคะ แล้วก็มาผสมกับแป้งข้าวเหนี่ยวคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วจึงนำมาปั้นกับไส้พอปั้นเสร็จก็ตั้งน้ำร้อน ใช้น้ำสาด น้ำใสสะอาดตั้งให้เดือดแล้ว เอาขนมต้มที่ปั้นไว้ใส่ลงไป พอลอยขึ้นมาก็ตักมาใส่มะพร้าวที่เตรียมไว้คะ มะพร้าว ขูดที่เราเตรียมใส่ถาดไว้พอสุกแล้วก็นำมาคลุกกับมะพร้าวแล้วก็คือเป็นอันเสร็จแล้ว คะ
คณิตกุล: แค่นี้ก็คือเสร็จแล้วใช่ไหมคะ ?
แม่ยงค์: คะ
คณิตกุล: แล้วตัวไส้ต้องเอาไปอบเทียนไหมคะ ?
แม่ยงค์: อบคะ อบเทียนซัก 2-3 ครั้งให้หอม
คณิตกุล: แล้วขั้นตอนการอบเทียนนี่ทำยังไงคะ
แม่ยงค์: เราปั้นไส้ใส่กะละมังไว้เสร็จเราก็จุดเทียน เทียนจะเป็นวง ๆ เราก็จุดทั้งสองข้างเลย พอจุดแล้วก็เป่าให้ดับแล้วก็ใส่ลงไปในถ้วย วางลงไปในกะละมังที่เราใส่ไส้ขนมไว้ แล้วก็เอากะละมังมาครอบอีกทีนึง ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง ก็เป็นอันเสร็จ
คณิตกุล: ทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมงเลยนะคะ เพิ่งรู้นะคะว่าการอบเทียนเขาทำกันแบบนี้ แล้วปกติแม่ ขายอยู่แถวไหนบ้างคะ ?
แม่ยงค์: ขายทั่วไปคะ มีคนมารับไปขาย แล้วก็ขายเองด้วยคะ
คณิตกุล: ปกติขนมต้มเขาขายเป็นถุงใช่ไหมคะ ?
แม่ยงค์: ใส่กล่องคะ
คณิตกุล: กล่องหนึ่งมีกี่ลูกคะ ?
แม่ยงค์: กล่องหนึ่งแม่จะใส่ 4 ชิ้น
คณิตกุล: 4 ชิ้น ประมาณเท่าไหร่คะ ราคา ?
แม่ยงค์: 10 บาท
คณิตกุล: 10 บาท ราคาแบบไทย ๆ
แม่ยงค์: ราคาไทย ๆ คะ ราคาถูก ถ้ากล่องใหญ่แม่จะใส่ 8 ชิ้น 8 ลูก 20 บาท
คณิตกุล: 8 ลูกก็ขาย 20 แล้วราคาส่ง ?
แม่ยงค์: ถ้าใหญ่ส่ง 18 ถ้าเล็กก็ 8 เค้าก็ขาย 10 บาทคะ
คณิตกุล: วันนี้ก็ได้ทราบถึงวิธีการทำขนมต้มแล้วนะคะอีกคลิปจะพาไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ เรื่องประวัติขนมต้มคะยังไงวันนี้ต้องขอขอบคุณแม่ยงค์มากคะ สวัสดีคะ
แม่ยงค์: สวัสดีคะ
ป้าตุ้ม
คณิตกุล: สวัสดีคะป้าตุ้ม
ป้าตุ้ม: สวัสดีคะน้องฟิล์ม
คณิตกุล: ป้าตุ้มเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติขนมต้ม วันนี้จะมาให้ป้าตุ้มเล่าให้ฟังหน่อยคะว่าขนมต้มเนี่ยเข้ามาเมื่อสมัยไหนคะ?
ป้าตุ้ม: สมัยสุโขทัยลูก
คณิตกุล: ขนมต้มเข้ามาในเรื่องของศาสนาหรือว่ายังไงคะ
ป้าตุ้ม: ใช่คะใช่ ศาสสนาพราห์มเนอะลูก มีคนกล่าวขานกันมาว่าขนมต้มเนี่ยนะ ถ้าจะทำก็ต่อเมื่อเอามาบรวงสรวงหรือไหว้ครู เป็นขนมที่อร่อยได้ทานแล้วจะติดใจ ทานเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักอิ่ม อิ่มแล้วท้องจะแตกก็ยอมขนาดตกไปที่พื้นยังต้องเก็บขึ้นมาทานเลย มันอร่อยมากลูก
คณิตกุล: แล้วเค้าใช้บวงสรวงกับใครคะ ?
ป้าตุ้ม: พระพิฆเนศวรคะ เพราะพระพิฆเนศวรทรงโปรดมากกับขนมชนืดนี้
คณิตกุล: ทรงโปรดขนมต้มมาก
ป้าตุ้ม: และถ้าเกิดใครได้ทานหรือได้ลิ้มลองก็จะติดใจ ถ้าขอพรก็จะสมปราถนาทุกอย่างเลย
คณิตกุล: วาง่าย ๆ ว่าใช้ขนมต้มขอพรจากพระพิฆเนศวรเพื่อให้ประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ หน้าที่การงาน กิจการ อย่างนี้ใช่ไหมคะ
ป้าตุ้ม: ใช่ใช่ คนก็เลยจดจำ คือมีคนทำแล้สสำเร็จก็เกิดความเชื่อแล้วทำต่อ ๆ กันมา
คณิตกุล: ทำต่อ ๆ กันมาจนเป็นประเพณี ธรรมเนียมใช่ไหมคะ ?
ป้าตุ้ม: ใช่ ๆ
คณิตกุล: แล้วขนมต้มมีลักษณะยังไงคะ ?
ป้าตุ้ม: ขนมต้มมี 2 ประเภท มีขนมต้มแดง ขนมต้มขาวนะ ปัจจุบันถ้าจะสร้างตึก สร้างบ้าน จะใช้ขนมต้มแดง ขนมต้มแดงจะไม่มีไส้ จะทำเป็นแบน ๆ แล้วใช้น้ำตาลเคี่ยวราด ขนมต้มขาวเค้าจะกวนไส้แล้วมาปั้นไส้นี่ก้คือมะพร้าวอ่อน มะพร้าวทึนทึก มากวนกับน้ำตาล ถ้าอยากให้อร่อยจริง ๆ เราก็บดงาดำลงไปด้วยแล้วมาปั้น พอปั้นเสร็จก็จะมาอบควันเทียน อบควันเทียนให้มันหอม พอเสร็จก็จะมานวดแป้งแป้งก็คือแป้งข้าวเหนี่ยว ถ้าเป็นสีชมพูป้าจะไม่ใช้สี จะใช้น้ำหวานเฮลฮูบอยมานวดแป้งแล้วจึงปั้น แต่ถ้าเป็นสีเขียวจะใช้ใบเตย เวลาสีเขียวสีชมพูเข้ากันมันจะสวย ทานแล้วจะติดใจ แล้วมะพร้าวที่คลุกจะใช้มะพร้าวทึนทึก ขูดเป็นเส้นเล็ก ๆไม่ยาว สั้น ๆ ก่อนที่จะคลุกกับขนม มะพร้าวต้องเอาไปนึ่งก่อนซัก 20 นาที จะได้ไม่บูดง่าย แล้วก็คลุกเกลือนิดหน่อยแล้วเอาขนมมาคลุกกับมาพร้าวจะอร่อยมาก อยากทานมะ?
คณิตกุล: อยากทานคะ พูดแบบนี้หนูอยากทานเลย
ป้าตุ้ม: ป้าทำขนมอร่อยมาก จะมีเรื่องเล่าให้ฟังเพื่อป้าเค้ามาเยี่ยมป้า ป้าขอตัวเค้าไปในครัว เค้าไม่รู้หรอกว่าป้าจะไปทำขนมต้มให้ทาน พอเดินก็ถือขนมต้มมาเค้าก็ตกใจเค้าร้องกันลั่นบ้านเลย อะไรขนมต้ม 5 นาที นี่เรื่องจริงนะแล้วเพื่อนเค้าก็จะไปเล่าบอกต่อ ๆ กัน ว่าขนมต้มแปปเดียวเสร็จ คือจริง ๆ แล้วเนี่ยป้าจะมีไส้ขนมอยู่ที่บ้าน ในตู้เย็นตลอดเวลาเพราะป้าเป็นคนชอบทำ ชอบลิ้มลอง
คณิตกุล: ถ้าหูดอย่างงี้ต้องไปลองแล้วคะ ยังไงขอตัวไปทานขนมต้มก่อนนะคะ สวัสดีคะ
ป้าตุ้ม: สวัสดีคะ
ขนมต้ม โดย Kanitkun อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International.![สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์](https://i.creativecommons.org/l/by-nc-sa/4.0/88x31.png)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น