ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับขนม
นิยาม
ขนม เป็นชื่อเรียกอาหารหวานของไทย ซึ่งมีที่มาสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่โบราณ มักทำควบคู่กับอาหารคาว เรียกว่า คาว - หวาน
นอกจากนี้ คนไทยยังนิยมทำขนมตามประเพณีและเทศกาลต่าง ๆรวมทั้งงานมงคลต่าง ๆ เช่น การทำบุญเลี้ยงพระ การแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ งานบวชเป็นต้น
ชนิดขนม
ขนมในพิธี
ขนมชั้น ขนมถ้วยฟู ข้าวเหนียวแก้ว ขนมต้มขาว ขนมต้มแดง ทองเอก ทองพลุ ฯลฯ
สรุปแล้วก็คือ ขนมหวานให้คุณค่าทางโภชนาการในด้านให้พลังงานเป็นหลัก ถ้ามีไข่ก็จะให้โปรตีน เกลือแร่ เหล็ก วิตามินเอ และวิตามินบี 2 ถ้าเป็นการบริโภคปกติ ไม่ใช่การประกอบพิธีใดๆ ควรเลือกจากส่วนผสมที่ให้คุณค่าทางโภชนาการเป็นหลัก อย่าเลือกเพราะรสชาติลักษณะภายนอก เพราะอาจส่งผลในด้านลบได้ อาทิเช่น ขนมชั้นที่มีแต่แป้งกับน้ำตาล รับประทานมาก ๆ คุณค่าทางโภชนาการต่ำและอาจจะส่งผลให้เกิดโรคร้าย เช่น เบาหวาน เป็นต้น
ไส้ขนม
ส่วนผสม
มะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้น 200 กรัม
น้ำตาลมะพร้าว 160 กรัม
น้ำลอยดอกมะลิ 2 ถ้วย
วิธีทำ
นำน้ำลอยดอกมะลิที่ผสมน้ำตาลขึ้นตั้งไฟ พอเดือดใส่มะพร้าวลงไปกวนจนแห้ง ยกลง ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วจึงปั้นให้เป็นก้อนกลม นำใส่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับอบด้วยดอกมะลิหรืออบเทียน
แป้งขนม
ส่วนผสม
แป้งข้าวเหนียวขาว 2 ถ้วย
น้ำลอยดอกมะลิ ¾ ถ้วย
วิธีทำ
1. นวดแป้งโดยค่อย ๆ เติมน้ำลอยดอกไม้ลงไปเรื่อย ๆ ในระหว่างนวด พอแป้งนิ่มดีแล้วก็ปั้นเป็นก้อนกลม
2. แผ่แป้งออก วางไส้ลงกลางแป้ง หุ้มไส้แล้วนำไปต้ม พอแป้งลอยดูว่าแป้งสุกดีแล้ว ตักขึ้นรอให้สะเด็ดน้ำ แล้วจึงนำไปคลุกกับมะพร้าวให้ทั่ว
วิธีรับประทาน นำมะพร้าวนั้นคลุกปนกับเกลือให้ทั่วก่อนนำมาคลุกกับขนมแล้วรับประทาน
อาหารไทย
ขนมกับประเพณีไทย
นิสัยของคนไทยโดยทั่วไปนั้นเมื่อรับประทานอาหารคาวเสร็จแล้วก็ต้องตามด้วยของหวานเสมอ เนื่องจากเมืองไทยอยู่ในเขตอากาศร้อน ผลไม้ต่าง ๆ มีให้บริโภคตลอดทั้งปี และสามารถนำมาตากแห้ง เชื่อม กวน ทำเป็นขนมเก็บไว้รับประทานได้ตลอดในหน้าวหนาวก็จะนิยมรบประทานขนมร้อน เช่น ขนมบัวลอย ถั่วเขียวต้มน้ำตาล หน้าร้อนมีขนมใส่น้ำแข็งเพื่อช่วยดับความร้อน เช่น ซาหริ่ม ลอดช่อง และทับทิมกรอบ
งานบวงสรวงเทวดา: คนไทยโบราณมีความเชื่อเรื่อง ผีสาง-เทวดา-พระภูมิเจ้าที่ ถ้าได้ทำพิธีไหว้บรวงสวงก็จะเป็นสิริมงคล ทำให้อยู่เย็นเป็นสุข นับเป็นความสุขทางใจอย่างหนึ่งขนมที่ใช้ในพิธีบรวงสวงเทวดา คือ ขนมต้มขาว ขนมต้มแดง
ขนมหวานไหย
อุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับทำขนมไทย
1. ถ้วยตวง
2. อ่างผสมหรือชามผสม มีลักษณะทรงกลมปากกว้าง ไม่มีเหลี่ยมและมุม เพื่อความสะดวกในการคลุกเคล้าอาหาร ทำจากแสตนเลส อะลูมิเนียม พลาสติก และกระเบื้อง
3. กระทะทองเหลือง เหมาะที่จะทำขนมไทยเพราะเก็บความร้อนได้ดี มีความลึกและกว้าง ก้นกระทะโค้ง ต้องใช้ควบคู่กับช้อนหรือไม้พาย เพื่อไม่ให้กระทะมีรอยขีดข่วน
4. พายไม้หรือช้อนไม้ ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปทำมาจากไม้โมก มีหลายขนาด พายไม้มีรูปล่างลักษณะเหมือนไม้พายสำหรับพายเรือ ปลายไม้จะแบนและบาง มีด้ามจับกลมเพื่อความถนัด ส่วนช้อนไม้พายจะเป็นแอ่ง ใช้ตักอาหารได้
5. กระต่ายมือหรือแมวและคันชัก ใช้สำหรับขูดมะพร้าว มีลักษณะคล้ายมือแมว มะพร้าวที่ขูดออกมาจะเป็นฝอย ส่วนคันชักใช้สำหรับขูดมะพร้าวให้เป็นเส้น ๆ ทั้งสองชนิดนี้ทำมาจากแผ่นเหล็กบาง ๆ มีด้ามจับ
การแต่งกลิ่นในขนมไทย
การแต่งกลิ่นด้วยน้ำลอยดอกไม้สด
ดอกไม้ที่นิยมนำมาลอยน้ำเพื่อให้เกิดกลิ่นหอม ได้แก่ ดอกมะลิ ดอกกุหลาบมอญ และดอกกระดังงา การทำน้ำลอยแต่ละชนิดมีวิธีการแตกต่างกันดังนี้
ดอกมะลิ ควรเลือกชนิดดอกตูม ถ้าเก็บจากต้นให้เก็บในช่วงเย็น แต่ถ้าเป็นมะลิซื้อควรซื้อในตอนเช้า (ถ้าซื้อตอนเย็นจะได้ดอกที่ช้ำและกลิ่นไม่หอม) นำมาห่อด้วยใบตองแล้วเก็บไว้ในตู้เย็น จากนั้นให้นำมาเด็ดกลีบเลี้ยงออก ล้างน้ำให้สะอาด แล้วแช่ลงในน้ำโดยเอาทางก้านลง ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งเช้าจึงช้อนดอกมะลิขึ้นจากน้ำ
การแต่งสี
สีธรรมชาติ คือ สีที่ได้มาจากการสังเคราะห์หรือสกัดมาจากพืช ทั้งดอก ใบ ผล เมล็ด เหง้าหรือแก่นของพืช มีหลายสีสันให้เลือกใช้ สีธรรมชาติบางชนิดให้กลิ่นหอมด้วย เช่น สีเขียวจากใบเตย
สีเขียว ได้จากใบเตยหอม โดยนำใบมาล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนแล้วโขลกหรือปั่นจนละเอียด ค้นกับน้ำเล็กน้อย กรองผ่านผ้าขาวบาง จะได้สีเขียวเข้มนิยมนำมาผสมกับขนมที่ต้องการสีเขียว ซึ่งนอกจากจะได้สีสันสวยงามแล้วยังมีกลิ่นหอมอีกด้วย
บทความ
ขนมต้มขาว
ไส้ขนม
ส่วนผสม
มะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้น 200 กรัม
น้ำตาลมะพร้าว 160 กรัม
น้ำลอยดอกมะลิ 2 ถ้วย
วิธีทำ
นำน้ำลอยดอกมะลิที่ผสมน้ำตาลขึ้นตั้งไฟ พอเดือดใส่มะพร้าวลงไปกวนจนแห้ง ยกลง ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วจึงปั้นให้เป็นก้อนกลม นำใส่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับอบด้วยดอกมะลิหรืออบเทียน
แป้งขนม
ส่วนผสม
แป้งข้าวเหนียวขาว 2 ถ้วย
น้ำลอยดอกมะลิ ¾ ถ้วย
วิธีทำ
1. นวดแป้งโดยค่อย ๆ เติมน้ำลอยดอกไม้ลงไปเรื่อย ๆ ในระหว่างนวด พอแป้งนิ่มดีแล้วก็ปั้นเป็นก้อนกลม
2. แผ่แป้งออก วางไส้ลงกลางแป้ง หุ้มไส้แล้วนำไปต้ม พอแป้งลอยดูว่าแป้งสุกดีแล้ว ตักขึ้นรอให้สะเด็ดน้ำ แล้วจึงนำไปคลุกกับมะพร้าวให้ทั่ว
วิธีรับประทาน นำมะพร้าวนั้นคลุกปนกับเกลือให้ทั่วก่อนนำมาคลุกกับขนมแล้วรับประทาน
อุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับทำขนมไทย
1. ถ้วยตวง
2. อ่างผสมหรือชามผสม
3. กระทะทองเหลือง
4. พายไม้หรือช้อนไม้
5. กระต่ายมือหรือแมวและคันชัก ใช้สำหรับขูดมะพร้าว
การแต่งกลิ่นด้วยน้ำลอยดอกไม้สด
ดอกไม้ที่นิยมนำมาลอยน้ำเพื่อให้เกิดกลิ่นหอม ได้แก่ ดอกมะลิ ดอกกุหลาบมอญ และดอกกระดังงา
การแต่งสี
สีธรรมชาติ คือ สีที่ได้มาจากการสังเคราะห์หรือสกัดมาจากพืช ทั้งดอก ใบ ผล เมล็ด เหง้าหรือแก่นของพืช มีหลายสีสันให้เลือกใช้ สีธรรมชาติบางชนิดให้กลิ่นหอมด้วย เช่น สีเขียวจากใบเตย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น